ประวัติสมเด็จพระสังฆราช โชติปาล มหาเถโร


o       เกิดเมื่อ 5 มกราคม 1911 (พ.ศ. 2454)  ที่หมู่บ้าน Kemtali โบไรเกา  หลักสาม จ.โคมิลล่า
o       พระบิดา  ชื่อ Chandramoni Singha เป็นเกษตกรระดับกลาง
o       พระมารดา ชื่อ Dropaudi Bala Singha เป็นแม่บ้าน
o     ท่านได้ละทิ้งชีวิต  ครอบครัว เมื่ออายุครบ 15 ปี บรรพชาเป็นสามเณรในประเพณีของพุทธศาสนาเถรวาท  ได้รับสมญาว่า  โชติปาล  Jyotipat
o     ด้านการศึกษา  ท่านได้รับการยอมรับว่าเป็นศาสตราจารย์ทางพระไตรปิฎก  มีความรอบรู้  สามารถอย่างยิ่งเกี่ยวกับพระไตรปิฎกจนได้รับรางวัลเหรียญทองอันดับ 1 สาขา อภิธรรมปิฎกภาษาบาลีและสันสกฤต  จากมหาวิทยาลัยนาลันทา  วิทยาลัยภวันกัลกัตตา  ประเทศอินเดีย  นักวิชาการ ครู อาจารย์ และพระเถรานุเถระผู้ใหญ่ที่มีชื่อเสียงต่างก็ให้การยอมรับและแสดงความยินดีกับท่าน
o     สมเด็จพระสังฆราชฯ  บวชเป็นภิกษุสงฆ์เมื่อ 14 กรกฎาคม 2481  ท่านเป็นพระนักปฏิรูปและพัฒนา  ท่านตระหนักดีว่า  การศึกษาและมาตรการทางเศรษฐกิจและสังคมที่ดีจะสามารถทำให้ทุกคนในสังคมมีความอยู่ดีกินดี  มีความสุข  ความเจริญรุ่งเรืองได้ (ไม่ยากจน และ มีความล้าหลัง) ท่านพิจารณาจัดตั้งโครงการที่สร้างรายได้และก่อตั้งสถาบันการศึกษาที่มีคุณภาพในสังคม  ท่านแสดงบทบาทเป็นนักปฏิรูปและนักเทศน์เพื่อเผยแพร่  กระจาย  ความสำคัญทางการศึกษา  ความสำคัญทางสันติภาพ  ความสำคัญทางความสุขสงบ  ไม่เบียดเบือนทำร้าย  ไม่ใช้ความรุนแรง  รวมทั้งให้มีความรักใคร่สามัคคี มีเมตตาต่อกัน ช่วยเหลือสังคมประเทศชาติโดยมีพระพุทธศาสนาเป็นหลัก

โครงการที่สำคัญ ๆ คือ

1)       สร้างวัดในพระพุทธศาสนา  จำนวน วัด เป็นศูนย์กลางชาวพุทธในบังคลาเทศ
2)       ก่อตั้งโรงเรียนสอนวิชา ความรู้ ให้แก่ประชาชน ทั้งโรงเรียนหญิง และโรงเรียนชาย รวมทั้งการก่อตั้งสถานที่เลี้ยงเด็กกำพร้า
3)       สร้าง คอมเพล็ก โบไรเกา ประกอบด้วยวัดโบโรเกาบาลีวิทยาลัยสถานเลี้ยงดูเด็กกำพร้า โรงเรียนประถมศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษาชาย-หญิง
4)       ก่อตั้งจิตตกองมหาวิทยาลัย  Chittagong University
5)       ทำหน้าที่เจ้าอาวาส  ดูแลรับผิดชอบวัดเจดีย์สันติภาพโลก (World Peace Pagoda)

งานเขียนและสิ่งพิมพ์

สมเด็จพระสังฆราช  โชติปาล มหาเถโร  เป็นนักเขียนที่มีชื่อเสียงและสำคัญมากคนหนึ่ง  งานเขียนของท่านเป็นสิ่งมีค่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อนักวิชาการ  นักการทูต  ผู้บวชในศาสนา  ครอบคลุมงานวิจัยที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และพัฒนาการวิชาการต่างๆ ความรู้เกี่ยวกับศาสนาพุทธ นอกจากนั้นสมเด็จพระสังฆราช ฯ ท่านยังคงมีความเชี่ยวชาญ  มีความรู้  ความสามารถ  มีพรสวรรค์ทางการกล่าวสุนทรพจน์ การเทศน์ที่มีคำพูด  คติธรรมที่ประทับใจ  จับใจผู้ฟังอย่างยิ่ง
          ผลงานบางส่วน เช่น
     1.ทฤษฏีของกรรม
     2.การกำหนดประเภทของมนุษย์
     3.แปลภาษาเบงกาลีที่สำคัญของนักเขียนอื่น
     4.อันตรายในการทำสมาธิ
     5. 17 บทของคัมภีร์ วิสุทธิมรรค
     6.การเกิดขึ้นและการล่มสลายของพระพุทธศาสนาในอินเดีย
     7.พรหมวิหาร 4
     8.ชยะภาดา เป็นเพลงในพระพุทธศาสนา
     9.พุทธประวัติและคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
    10.พุทธสมทบวัฒนธรรมเพื่อวรรณคดี
    11.พรหมวิหาร 4 ในสันติภาพและความสามัคคี
    12.พุทธธรรมสิกขา
    13.สงครามเพื่ออิสระภาพในบังคลาเทศ
    14.ประสบการณ์ท่องเที่ยวมาเลเซีย
     15.รองพระสังฆราช กูนาลังการะ (พระอุปัชฌาย์)
    16.หนึ่งร้อยองค์การเคารพ
    17.พระพุทธรูปห้าพระองค์ของฝ่ายมหายาน
    18.บทความให้ข้อมูลในแง่พระพุทธศาสนา
    19.พจนานุกรมภาษีบาลี ฉบับแก้ไข
    20.วรสารการฟื้นฟูพระพุทธศาสนา

ความสัมพันธ์กับองค์กรต่างๆ
           สมเด็จพระสังฆราชโชติปาล มหาเถโร ท่านเป็นผู้ที่มีชื่อเสียง มีคุณงามความดี เป็นที่ยอมรับของผู้คน ทุกเชื้อชาติ ศาสนาทั้งในประเทศบังคลาเทศ และทั่วโลก ท่านมีส่วนร่วมในองค์กรสาขาต่างๆ ทั้งที่คิด พิจารณาก่อตั้งขึ้นด้วยตัวท่านเอง และจากการได้รับเชิญให้เข้าร่วมในองค์กรอื่นๆที่ให้ท่านเป็นผู้นำ โดยเป็นประธาน รองประธาน  มีบทบาทบริหารงานเหล่านั้นให้ดำเนินการไปได้ด้วยดี   บทบาทที่สำคัญๆ เช่น.-
1 ประธาน ตริปุระพุทธสมาคม
2 รองประธานปากีสถานตะวันออก Bouddha Krisiti Prachar Sangha และศูนย์สัมพันธภาพแห่งชาติของโลก (1962-1970)
3 ประธาน Bouddha Krisiti Prachar Sangha และศูนย์สัมพันธภาพแห่งชาติของโลก ในบังคลาเทศ (1971-1982)
4 ประธานสภาที่ปรึกษาของ Bouddha Krisiti Prachar Sangha บังคลาเทศ  (1982-สิ้นพระชนม์)                              
5 ประธานศูนย์การประชุมพุทธเพื่อสันติภาพ บังคลาเทศ
6. บทบาทสมเด็จพระสังฆราชของชาวพุทธจากบังคลาเทศ
         สมเด็จพระสังฆราช โชติปาล มหาเถโร ทรงได้รับการยกย่อง เชิดชูความดี มีเมตตา โดยการยอมรับจากเวทีระดับชาติ และนานาประเทศในเรื่องการไม่ใช้ความรุนแรง ต้องการความสงบสุข ความปลอดภัย และการปลดอาวุธ ตลอดจนความมุ่งมั่น ด้วยความจริงใจ เพื่อพัฒนา เศรษฐกิจ สังคม การเมืองให้สุขสันติอย่างแท้จริง  ซึ่งจะเห็นได้จาก ประกาศนียบัตรแสดงเกียรติประวัติ และรางวัลต่างๆ เช่น.-
      1 . เหรียญทองศาสตราจารย์ทางพระไตรปิฏก ภาษาบาลี สันสกฤต จากคณะกรรมการกัลกัตตา
      2. เหรียญทองสัญลักษณ์สันติภาพ จากมองโกเลียโดยที่ประชุมเพื่อความสงบสุข (ABCP) สมาคมพระสังฆราช บังคลาเทศ
      3.รางวัลพระมหาสาสนนิธิ จากบังคลาเทศในฐานะผู้เผยแผ่ พระพุทธศาสนาให้กว้างขวาง
       4.ได้รับการแต่งตั้งเป็น สมเด็จพระสังฆราช ประเทศบังคลาเทศ
       5.ได้รับเกียรติการเป็นพลเมืองโลก โดยองค์กรระหว่าง เพื่อสันติภาพโลก (UN)จาก America ซึ่งเป็นเกียรติสูงสุดสามารถเดินทางไปทุกแห่งได้ทั่วโลก
        6..รางวัลทางศาสนา และสันติภาพ โดยสมาคมนานาชาติ (IARF) Oxford สหราชอาณาจักร อังกฤษ
        7. รางวัล Ekushe จากบังคลาเทศ ซึ่งทำกิจกรรมยอดเยี่ยมเพื่อสังคม
        8. เกียรตินิยมสูงสุด โดยได้รับเงินสมทบที่ดี จากกรณีสงครามและอิสรภาพของบังคลาเทศ

          สมเด็จพระสังฆราช โชติปาล มหาเถโร ทำหน้าที่สมณทูตจากบังคลาเทศ รับผิดชอบและมีบทบาทอย่างมากในการเดินทางไปร่วมประชุมระดับนานาชาติหลายๆประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านสันติภาพโดยคำนืงถึงสิทธิมนุษยชน

           พระองค์ท่านใช้เวลาทั้งชีวิตอุทิศให้กับการทำงาน เพื่อให้เกิดความสงบสุข สันติภาพ มิตรภาพทั่วโลก รวมทั้งพัฒนา ยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในสังคม ให้อยู่ดี กินดี มีคุณภาพ ท่านสามารถใช้สื่อวิทยุและโทรทัศน์เป็นเครื่องมือได้อย่างดี

           สมเด็จพระสังฆราช ท่านเป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพที่ดี สามารถสร้างความประทับใจให้กับผู้คนที่เกี่ยวข้อง ทุกชนชั้นทุกระดับ มีศิลปะการเข้าถึงอย่างอ่อนโยน นุ่มนวล มีจิตวิทยาในการบริหารจัดการทุกอย่างให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี ซึ่งถือเป็นพรสวรรค์  ท่านเป็นบุคคลที่ไม่ธรรมดา ชาวพุทธเชื่อว่า พระองค์ท่านเป็นพระสงฆ์ที่มีบุญ วาสนา บารมีสูงยิ่งรูปหนึ่งในหมู่ชาวพุทธทั่วโลกที่ได้รับการเคารพ บูชา ตลอดชั่วนิรันดร์
           สมเด็จพระสังฆราช โชติปาล มหาเถโร สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่  12 เมษายน 2002 ( 2545) ที่โรงพยาบาลเจเจ ในมุมใบ ประเทศอินเดีย จากนั้นรัฐบาลของสาธารณรัฐบังคลาเทศได้อัญเชิญพระศพของท่านมาที่กรุงดากา ประเทศบังคลาเทศ


           พิธีศพจัดขึ้นอย่างสมพระเกียรติ โดยรัฐบาลทางบังคลาเทศ องค์กรชาวพุทธทั่วโลกและพุทธศาสนิกชน  รวมทั้งชนต่างชาติต่างศาสนาที่มีความรักความศรัทธาในหลวงพ่อพระสังฆราช เดินทางมาเข้าพิธีร่วมงานศพประมาณ 300,000 คน กองทัพทหารได้มีการยิงปืนสลุต ซึ่งถือเป็นการให้เกียรติอันสูงสุด ในงานมีพระภิกษุสงฆ์ สามเณร แขกผู้มีเกียรติจากหลายประเทศเข้าร่วมงานแสดงความอาลัยและเสียใจอย่างล้นหลาม